ม่านพับ (Roman Blinds) อีก 1 รูปแบบผ้าม่านที่ยอดนิยมในไทย ที่ช่วยในเรื่องการประหยัดพื้นที่
ม่านพับ (Roman Blinds) ถือเป็นตัวเลือกที่มีความสำคัญ และนิยมใช้งานในการตกแต่งบ้านเนื่องจากคุณสมบัติที่หลากหลาย ไม่ว่าจะด้วยเรื่องของการประหยัดพื้นที่ และสามารถในการเข้ากับทุกสไตล์การตกแต่งบ้าน ม่านพับยังให้ความเป็นส่วนตัวที่ยอดเยี่ยมอีกด้วย ช่วยป้องกันการมองเห็นจากภายนอกเข้ามาในบ้าน นอกจากนี้ ม่านพับยังสามารถควบคุมระดับแสง
ข้อแนะนำสำหรับม่านพับ คือ ม่านนั้นจะเหมาะกับหน้าต่างมากกว่าติดตั้งตรงประตู
ในการใช้งานม่านพับนั้น จะคล้ายคลึงกับม่านม้วน ในการดึงผ้าจากด้านล่างขึ้นด้านบน แต่จะเป็นคนละระบบกัน โดยม่านพับนั้นจะเก็บผ้าผ่านการใช้รอกดึงขึ้นเป็นชั้นทบกันไปมานั่นเอง ม่านพับนั้นถือเป็นอีกทางเลือกที่นิยมมาก ๆ ในไทย และทันสมัย วิธีการที่นิยมคือการใช้ม่านเป็นจุดเด่นในห้อง โดยเลือกผ้าที่มีลวดลายที่โดดเด่น และดึงดูดสายตา ซึ่งสามารถเพิ่มความน่าสนใจทางสายตาได้ ม่านพับถูกใช้มานานหลายศตวรรษ
โดยมีความหลากหลายในสไตล์ สี และวัสดุ ทำให้ม่านพับสามารถใช้งานได้กับทุกสไตล์การตกแต่ง ไม่ว่าจะเป็นแบบมินิมอล หรือโมเดิร์น และยังง่ายต่อการใช้งาน และทำความสะอาดอีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถทำเป็น ม่านพับ 2 ชั้น โดยติดตั้งแบบผสมผสานโดยชั้นในเป็นม่านลอน ม่านตาไก่ หรือม่านจีบ ที่เป็นผ้าโปร่ง ส่วนด้านนอกก็ใช้ผ้าทึบเป็นม่านพับ
ในวันนี้ทาง IHomeEden ของเรานั้น ก็จะบอกเล่าเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับม่านพับอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ประวัติความเป็นมา วิธีการเลือกม่านพับพร้อมรูปประกอบ รวมไปถึงการดูแลรักษา หากต้องการซักผ้าม่าน และบริการจำหน่าย และติดตั้งผ้าม่านทุกประเภท หากสนใจที่จะใช้บริการ หรือต้องการปรึกษา ก็สามารถติดต่อหาเราได้เลย เราพร้อมที่จะดูแลทุกท่านอย่างดีที่สุด
ประวัติความเป็นมาของม่านพับ
ม่านพับมีประวัติ และความเป็นมามากกว่า 2,000 ปี จากแหล่งอ้างอิงจากอังกฤษ a1blinds นั้นได้ให้ข้อมูลว่า ม่านได้มีการออกแบบที่เปลี่ยนแปลงแนวคิดของม่าน ตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน ม่านพับถูกสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ด้านประโยชน์มากกว่าดีไซน์ โดยมีต้นกำเนิดในกรุงโรมในช่วงที่ถนน และคอลอสเซียมกำลังถูกสร้าง โรมันใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ คลุมหน้าต่างเพื่อป้องกันฝุ่นและความร้อนจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ม่านพับเดิมถูกสร้างขึ้นเพื่อป้องกันฝุ่นในอาคารและบ้าน ในยุคที่ไม่มีกระจกหน้าต่าง จึงใช้ผ้าชุบน้ำเพื่อช่วยรักษาฝุ่น ความเป็นส่วนตัว ม่านพับสมัยใหม่เป็นที่นิยมมากขึ้น และเป็นที่รู้จักในด้านการออกแบบที่ทันสมัย และรู้สึกหรูหราในบ้าน มีตัวเลือกการกรองแสง กันความร้อน และกันแสงสว่าง นอกจากนี้ยังมี ม่านพับ 2 ชั้น เพิ่มเข้ามาตกแต่ง ในปัจจุบันนี้ม่านพับถือเป็นหนึ่งในการออกแบบแรก ๆ ที่ถูกใช้งานด้วยระบบมอเตอร์ ทำให้การใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น
วิธีการเลือกวัสดุ และการออกแบบ ในการเลือกใช้ม่านพับ
ม่านพับมักทำจากวัสดุที่เบาและบาง เช่น ลินิน, ฝ้าย, และไหม เนื่องจากวัสดุเหล่านี้ ช่วยให้พับของม่านสามารถวางซ้อนกันได้อย่างลื่นไหลเมื่อดึงรอกขึ้น – ลง และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาวเกี่ยวกับกลไกของม่าน
- ลินิน เป็นหนึ่งในวัสดุที่นิยมสำหรับม่านพับ เนื่องจากมีความเบาและโปร่งสบาย สามารถดึงรอกขึ้น – ลงได้อย่างง่ายดาย และยังสร้างลักษณะที่เรียบและสะอาดทั้งในเวลาที่ทำการเปิด-ปิด
- ฝ้าย ถือว่าเป็นวัสดุที่หลากหลายที่สุด มีความเบา โปร่งสบาย และมีสไตล์ที่เรียบง่าย ซึ่งเหมาะกับทุกสไตล์การตกแต่ง ตั้งแต่โมเดิร์น หรือมินิมอล
หากอยากให้มีความทนทานมากขึ้น อาจจะเลือกใช้ผ้าที่ผสมลินิน เช่น ผ้าลินิน/ฝ้าย ลินิน/เรยอน หรือลินิน/ไวส์โคส
การเลือกสี และลวดลาย
การเลือกสีของม่านพับควรเข้ากับสีผนังของห้อง เพื่อสร้างลักษณะที่มินิมอล และเรียบง่าย สีที่มักจะใช้กันนั้นจะเป็น เทา น้ำเงิน หรือดำ สีเหล่านี้นั้นสามารถสร้างความน่าสนใจในห้องที่มีพื้นหลังสีขาว
แต่หากต้องการเพิ่มพลังงานและลูกเล่นให้กับห้อง อาจเลือกใช้ผ้าที่มีลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายทาง ลายดอกไม้ หรือลายเรขาคณิต ฯลฯ เป็นต้น แต่ควรคำนึงถึงขนาดของห้อง และจำนวนหน้าต่างที่ใช้ เมื่อเลือกลวดลายด้วย
ความเหมาะสมกับพื้นที่ห้องต่าง ๆ และสไตล์การตกแต่งของบ้าน
ในการตกแต่งห้องด้วยม่านพับ ควรคำนึงถึงบรรยากาศที่ต้องการสร้าง ไม่ว่าจะเป็นห้องที่อบอุ่น และเชิญชวน หรือทันสมัย และเรียบง่าย ควรพิจารณาสไตล์ของบ้าน สี และวัสดุที่ใช้ในการตกแต่งก่อนที่จะเลือกผ้าม่านที่เหมาะสม
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความหนาของผ้า และระดับความเป็นส่วนตัวที่ต้องการ เช่น ผ้าที่หนาขึ้นสำหรับความเป็นส่วนตัว หรือผ้าที่บางลงสำหรับใช้แค่กรองแสง
ทริคในการเลือก การเลือกม่านพับ หรือม่านพับ 2 ชั้น
- ควรคำนึงถึงระดับความทึบของผ้า โดยม่านที่ทึบจะเหมาะกับห้องที่ต้องการความเป็นส่วนตัว เช่น ห้องนอน หรือห้องน้ำ
- ในห้องที่ต้องการแสงธรรมชาติ และบรรยากาศที่อบอุ่น เช่น ห้องครัว หรือห้องนั่งเล่น ควรเลือกม่านที่มีคุณสมบัติในการกรองแสงก็พอ
- ห้องที่มีหน้าต่างหลายบาน ม่านพับเป็นทางเลือกที่ดีในห้องที่มีหน้าต่างหลายบาน เนื่องจากเมื่อพับขึ้น ม่านสามารถเก็บไว้เป็นระเบียบและไม่ทำให้ห้องดูวุ่นวาย ขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มความทันสมัยและชิคให้กับห้อง
คำแนะนำในการดูแลรักษาม่านพับอย่างถูกวิธี
- ทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ใช้อุปกรณ์ดูดฝุ่น หรือแปรงที่มีขนนุ่มเพื่อกำจัดฝุ่น สิ่งสกปรก และเศษฝุ่นจากม่านอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการสะสมของฝุ่น และสิ่งสกปรก
- การทำความสะอาดเฉพาะจุด หากม่านมีคราบเปื้อน ควรทำความสะอาดเฉพาะจุดทันทีด้วยผ้าชุบน้ำ หรือฟองน้ำ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่รุนแรง เพื่อป้องกันความเสียหายของวัสดุม่าน
- หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่จะโดนน้ำ ไม่ควรแช่ หรือทำให้ม่านเปียกน้ำ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหาย หรือการหดตัวของผ้า แต่สามารถทำความสะอาดเฉพาะจุดได้
- ตรวจเช็คความเรียบร้อยทุก ๆ 5 เดือน ตรวจสอบม่านพับเป็นประจำทุก 5 เดือนเป็นอย่างน้อย ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผ้า ตัวเก็บเชือก และกลไกของรางม่าน
- ซ่อมแซมความเสียหายทันทีอย่าปล่อยไว้ หากม่านมีความเสียหาย หรือมีส่วนที่แตกหัก ควรซ่อมแซมทันที เพื่อป้องกันความเสียหายเพิ่มเติม ซึ่งสามารถช่วยยืดอายุการใช้งานของม่านได้นานยิ่งขึ้น
- ผ้าม่านที่เหมาะสำหรับการดูแลรักษา ผ้าม่านที่ทำจากโพลีเอสเตอร์ สามารถทำความสะอาด และบำรุงรักษาได้ง่าย มีความทนทานต่อการใช้งาน และการทำความสะอาด ส่วนใหญ่คราบเปื้อนสามารถล้างออกได้ด้วยแค่ผ้าชุบน้ำ
- การดูแลรักษาผ้าม่านที่ทำจากไวนิล การทำความสะอาด และบำรุงรักษาได้ง่าย มีความทนทานต่อความชื้น จึงเหมาะสำหรับห้องน้ำ หรือพื้นที่ที่มีความชื้นสูง
- การดูแลรักษาผ้าม่านที่ทำจากผ้าฝ้ายผสม เช่น ผ้าฝ้ายผสมกับโพลีเอสเตอร์ สามารถทำความสะอาดได้ง่ายโดยใช้ฟองน้ำ อย่างไรก็ตาม บางประเภทอาจต้องการขั้นตอนการทำความสะอาด ที่ระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายของผ้าม่านด้วยเช่นกัน
สุดท้ายนี้หวังว่าบทความของเรานั้น จะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านในการใช้งานผ้าม่านพับไม่มากก็น้อย ซึ่งหากมีปัญหาในการใช้งานผ้าม่านพับ หรือต้องการคำปรึกษาต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำความสะอาด หรือการใช้งาน สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ Line: @ihomeeden
สนใจติดต่อ IHomeEden ที่ 089-003-4345 หรือ ผ่านช่องทางไลน์ Line: @ihomeeden(มี @ นำหน้า)
📞 | 089-003-4345
💬 | (Line) https://lin.ee/fA7MIo4